วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ข้อแนะนำในการใช้สมุนไพร

การใช้สมุนไพรที่ถูกต้อง ควรปฏิบัติดังนี้

ใช้ให้ถูกต้น สมุนไพรมีชื่อพ้องหรือซ้ำกันมากและบางท้องถิ่นก็เรียกไม่เหมือนกัน จึงต้องรู้จักสมุนไพร และใช้ให้ถูกต้น

ใช้ให้ถูกส่วน ต้นสมุนไพรไม่ว่าจะเป็นราก ใบ ดอก เปลือก ผล เมล็ด จะมีฤทธิ์ไม่เท่ากัน บางทีผลแก่ ผลอ่อนก็มีฤทธิ์ต่างกันด้วย จะต้องรู้ว่าส่วนใดใช้เป็นยาได้
ใช้ให้ถูกขนาด สมุนไพรถ้าใช้น้อยไป ก็รักษาไม่ได้ผล แต่ถ้ามากไปก็อาจเป็นอันตราย หรือเกิดพิษต่อร่างกายได้
ใช้ให้ถูกวิธี สมุนไพรบางชนิดต้องใช้สด บางชนิดต้องปนกับเหล้า บางชนิดใช้ต้มจะต้องรู้วิธีใช้ให้ถูกต้อง
ใช้ให้ถูกกับโรค เช่น ท้องผูกต้องใช้ยาระบาย ถ้าใช้ยาที่มีฤทธิ์ผาดสมานจะทำให้ท้องผูกยิ่งขึ้น
อาการแพ้ที่เกิดจากสมุนไพร สมุนไพรมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับยาทั่วไป คือมีทั้งคุณและโทษ บางคนใช้แล้วเกิดอาการแพ้ได้ แต่เกิดขึ้นได้น้อยเพราะสมุนไพรมิใช่สารเคมีชนิดเดียวเช่นยาแผนปัจจุบัน ฤทธิ์จึงไม่รุนแรง (ยกเว้นพวกพืชพิษบางชนิด) แต่ถ้าเกิดอาการแพ้ขึ้นควรหยุดยาเสียก่อน ถ้าหยุดแล้วอาการหายไป อาจทดลองใช้ยาอีกครั้งโดยระมัดระวัง ถ้าอาการเช่นเดิมเกิดขึ้นอีกแสดงว่าเป็นพิษของยาสมุนไพรแน่ ควรหยุดยาและเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น หรือถ้าอาการแพ้รุนแรงควรไปรับการรักษาที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาล


อาการที่เกิดจากการแพ้ยาสมุนไพร มีดังนี้
ผื่นขึ้นตามผิวหนังอาจเป็นตุ่มเล็กๆ ตุ่มโต ๆ เป็นปื้นหรือเป็นเม็ดแบนคล้ายลมพิษ อาจบวมที่ตา (ตาปิด) หรือริมฝีปาก (ปากเจ่อ) หรือมีเพียงดวงสีแดงที่ผิวหนัง
เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน (หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) ถ้ามีอยู่ก่อนกินยาอาจเป็นเพราะโรค
หูอื้อ ตามัว ชาที่ลิ้น ชาที่ผิวหนัง
ประสาทความรู้สึกทำงานไวเกินปกติ เช่นเพียงแตะผิวหนังก็รู้สึกเจ็บ ลูบผมก็แสบหนังศีรษะ ฯลฯ
ใจสั่น ใจเต้น หรือรู้สึกวูบวาบคล้ายหัวใจจะหยุดเต้น และเป็นบ่อยๆ
ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะเหลืองและเมื่อเขย่าจะเกิดฟองสีเหลือง (เป็นอาการของดีซ่าน) อาการนี้แสดงถึงอันตรายร้ายแรงต้องรีบไปหาแพทย์ อาการเจ็บป่วยและโรคที่ไม่ควรใช้สมุนไพรหรือซื้อยารับประทานด้วยตนเอง
หากผู้ป่วยเป็นโรคร้ายแรง โรคเรื้อรัง หรือโรคที่ยังพิสูจน์ไม่ได้แน่ชัดว่ารักษาด้วยสมุนไพรได้ เช่น งูพิษกัด สุนัขบ้ากัด บาดทะยัก กระดูกหัก มะเร็ง วัณโรค กามโรค ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคเรื้อน ดีซ่าน หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ปอดบวม (ปอดอักเสบ) อาการบวม ไทฟอยด์ โรคตาทุกชนิด ไม่ควรใช้สมุนไพร
ถ้าผู้ป่วยมีอาการโรค/อาการเจ็บป่วยที่รุนแรง ต้องนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที ไม่ควรรักษาด้วยการซื้อยารับประทานเอง หรือใช้สมุนไพร อาการที่รุนแรงมีดังนี้

ไข้สูง (ตัวร้อนจัด) ตาแดง ปวดเมื่อยมาก ซึม บางทีพูดเพ้อ (อาจเป็นไข้หวัดใหญ่ หรือไข้ป่าชนิดขึ้นสมอง)
ไข้สูงและดีซ่าน (ตัวเหลือง) อ่อนเพลียมาก อาจเจ็บในแถวชายโครง (อาจเป็นโรคตับอักเสบ ถุงน้ำดีอักเสบ ฯลฯ)
ปวดแถวสะดือ เวลาเอามืดกดเจ็บปวดมากขึ้น หน้าท้องแข็ง อาจท้องผูกและมีไข้เล็กน้อยหรือมาก (อาจเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบอย่างแรงหรือลำไส้ส่วนอื่นอักเสบ)
เจ็บแปลบในท้องคล้ายมีอะไรฉีกขาด ปวดท้องรุนแรงมาก ท้องแข็ง อาจท้องผูก และมีไข้เล็กน้อยหรือมาก (อาจเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบอย่างแรงหรือลำไส้ส่วนอื่นอักเสบ)
อาเจียนเป็นโลหิตหรือไอเป็นโลหิต (อาจเป็นโรคร้ายแรงของกระเพาะอาหารหรือปอด) ต้องให้คนไข้นอนพักนิ่งๆ ก่อน ถ้าแพทย์อยู่ใกล้ควรเชิญมาตรวจที่บ้าน ถ้าจำเป็นต้องพาไปหาแพทย์ ควรรอให้เลือดหยุดเสียก่อน และควรพาไปโดยมีการกระเทือนกระแทกน้อยที่สุด
ท้องเดินอย่างแรง อุจจาระเป็นน้ำ บางทีมีลักษณะคล้ายน้ำซาวข้าว บางทีถ่ายพุ่งถ่ายติดต่อกันอย่างรวดเร็ว คนไข้อ่อนเพลียมาก ตาลึก หนังแห้ง (อาจเป็นอหิวาตกโรค) ต้องพาไปหาแพทย์โดยด่วน ถ้าไปไม่ไหวต้องแจ้งแพทย์หรืออนามัยที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว
ถ่ายอุจจาระเป็นมูกและเลือด บางทีเกือบไม่มีเนื้ออุจจาระเลย ถ่ายบ่อยมาก อาจจะตั้งสิบครั้งในหนึ่งชั่วโมง คนไข้เพลียมาก (อาจเป็นโรคบิดอย่างรุนแรง)
สำหรับเด็ก โดยเฉพาะเด็กอายุไม่เกินสิบสองปีมีอาการไข้สูง ไอมาก หายใจมีเสียผิดปกติ คล้ายๆ กับอะไรติดอยู่ในคอ บางทีมีอาการหน้าเขียวด้วย (อาจเป็นโรคคอตีบ) ต้องรีบพาไปหาแพทย์โดยด่วนที่สุด
อาการตกเลือดเป็นเลือดสดๆ จากทางไหนก็ตามโดยเฉพาะทางช่องคลอดต้องพาไปหาแพทย์โดยเร็วที่สุด
ความหมายของคำที่ควรทราบเพื่อการใช้สมุนไพรอย่างถูกต้อง

ใบเพสลาด หมายถึงใบไม้ที่จวนแก่
ทั้งห้า หมายถึงส่วนของราก ต้น ผล ใบ ดอก
เหล้า หมายถึงเหล้าโรง (28 ดีกรี)
แอลกอฮอล์ หมายถึงแอลกอฮอล์ชนิดสีขาวสำหรับผสมยา ห้ามใช้แอกอฮอล์ชนิดจุกไฟ
น้ำปูนใส หมายถึงน้ำยาที่ทำขึ้นโดยการนำปูนที่รับประทานกับหมากมาละลายน้ำสะอาดตั้งทิ้งไว้ แล้วรินน้ำใสมาใช้
ต้มเอาน้ำดื่ม หมายถึงต้มสมุนไพรด้วยการใส่น้ำพอประมาณ หรือสามเท่าของปริมาณที่ต้องการใช้ ต้มพอเดือดอ่อนๆ ให้เหลือ 1 ส่วนจาก 3 ส่วนข้างต้น รินเอาน้ำดื่มตามขนาด
ชงเอาน้ำดื่ม หมายถึงใส่น้ำเดือดหรือน้ำร้อนจัดลงบนสมุนไพรที่อยู่ในภาชนะปิดฝาทิ้งไว้สักครู่จึงใช้ดื่ม
1 กำมือ มีปริมาณเท่ากับสี่หยิบมือ หรือหมายความถึงปริมาณของสมุนไพรที่ได้จากการใช้มือเพียงข้างเดียวกำโดยให้ปลายนิ้วจรดอุ้งมือโหย่งๆ
1 กอบมือ มีปริมาณเท่าสองฝ่ามือ หรือหมายความถึงปริมาณของสมุนไพรที่ได้จากการใช้มือทั้งสองข้างกอบเข้าหากันให้ส่วนของปลายนิ้วแตะกัน
1 ถ้วยแก้ว มีปริมาตรเท่ากับ 250 มิลลิลิตร
1 ถ้วยชา มีปริมาตรเท่ากับ 75 มิลลิลิตร
1 ช้อนโต๊ะ มีปริมาตรเท่ากับ 15 มิลลิลิตร
1 ช้อนคาว มีปริมาตรเท่ากับ 8 มิลลิลิตร
1 ช้อนชา มีปริมาตรเท่ากับ 5 มิลลิลิตร

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2552

พลู



พลู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper betle L.
วงศ์ : Piperaceae
ชื่อสามัญ : Betel Vine
ลักษณะ : ไม้เถาเนื้อแข็ง รากฝอยออกบริเวณข้อใช้ยึดเกาะ ข้อโป่งนูน ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 8-12 ซม. ยาว 12-16 ซม. มีกลิ่นเฉพาะและมีรสเผ็ด ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กอัดแน่นเป็นรูปทรงกระบอก แยกเพศ สีขาว ผล เป็นผลสด กลมเล็กเบียดอยู่บนแกน พลูมีหลายพันธุ์ เช่นพลูเหลือง พลูทองหลาง
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำคั้นใบสดกินเป็นยาขับลมและทาแก้ลมพิษ โดยใช้ 3-4 ใบ ขยี้หรือตำให้ละเอียด ผสมเหล้าโรงเล็กน้อย ทาบริเวณที่เป็น ใบมีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วยสาร chavicol และ eugenol ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ชาเฉพาะที่ สามารถบรรเทาอาการคันและฆ่าเชื้อโรคบางชนิดด้วย จึงมีการพัฒนาตำรับยาขี้ผึ้งผสมสารสกัดใบพลูขึ้นเพื่อใช้เป็นยาทารักษาโรคผิวหนังบางชนิด

บัวบก



บัวบก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centella asiatica Urban
วงศ์ : Umbelliferae
ชื่อสามัญ : Asiatic Pennywort/Tiger Herbal
ชื่ออื่น : ผักแว่น ผักหนอก
ลักษณะ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี เลื้อยแผ่ไปตามพื้นดิน ชอบที่ชื้นแฉะแตกรากฝอยตามข้อ ไหลที่แผ่ไปจะงอกใบจากข้อชูขึ้น 3-5 ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปไตเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 ซม. ขอบใบหยัก ก้านใบยาว ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบ ขนาดเล็ก 2-3 ดอก กลีบดอกสีม่วง ผล เป็นผลแห้ง แตกได้
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำต้มใบสดดื่มรักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ ร้อนใน กระหายน้ำ ลดไข้ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย ใช้เป็นยาภายนอกรักษาแผลเปื่อย แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำละเอียดคั้นเอาน้ำทาบริเวณแผลบ่อย ๆ ใช้กากพอกด้วยก็ได้ แผลจะสนิทและและเกิดแผลเป็นชนิดนูน (keloid) น้อยลง สารที่ออกฤทธิ์ คือ กรด madecassic, กรด Asiatic และ asiaticoside ซึ่งช่วยสมานแผลและเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองและลดการอักเสบ มีรายงานการค้นพบฤทธิ์ฆ่าเชื้อราอันเป็นสาเหตุของโรคกลาก ปัจจุบันมีการพัฒนายาเตรียมชนิดครีม ใช้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัดด้วย

เสลดพังพอน




เสลดพังพอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleria lupulina Lindl.
วงศ์ : Acanthaceae
ชื่ออื่น : ตราด ชองระอา, ทั่วไป เสลดพังพอนตัวผู้, กลาง พิมเสนต้น,จีน เซ้กแซเกี่ยม ฮวยเฮียวแก่โต่วเกียง
ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูงถึง 2 เมตร ใบเดี่ยวออกตรงข้าม ตัวใบเรียวยาว ด้านบนสีเขียวเข้ม เส้นใบสีแดง ด้านล่างสีจางกว่า ผิวใบเกลี้ยง ยาว 5-10 ซม. กว้าง 0.5-1.5 ซม. ก้านใบสั้น ตามซอกใบจะมีหนามแหลม 2 อัน ช่อดอกรูปทรงกระบอก ตั้งตรงหรือห้อยลง ยาว 3-9 ซม. กลีบดอกสีเหลือง ยาว 2-4 ซม. กลีบรองดอกสีเขียวปลายยอดสีม่วง ผล ยาวประมาณ 1.5 ซม.
พบทั่วไป นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาแผนโบราณ ใบ พอกฝี แก้ช้ำบวม ทั้งต้น แก้พิษงู แห้ปวดฟัน ราก ฝนกับสุรา ทาถอนพิษงู ตะขาบ แมลงป่อง ผึ้ง ปลาแขยง

สับปะรด



สับปะรด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ananas comosus Merr.
วงศ์ : Bromeliaceae
ชื่อสามัญ : Pineapple
ชื่ออื่น : ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด บ่อนัด มะขะนัด มะนัด ลิงทอง หมากเก็ง
ลักษณะ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 90-100 ซม. มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบ เดี่ยว เรียงสลับซ้อนกันถี่มากรอบต้น กว้าง 6.5 ซม. ยาวได้ถึง 1 เมตร ไม่มีก้านใบ ดอก ช่อ ออกจากกลางต้น มีดอกย่อยจำนวนมาก ผล เป็นผลรวม รูปทรงกระบอก มีใบเป็นกระจุกที่ปลายผล
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เนื้อผลเป็นยาแก้ไอขับเสมหะ เหง้าเป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว พบว่าลำต้น และผลมีเอนไซม์ย่อยโปรตีน ชื่อ bromelain ใช้เป็นยาลดการอักเสบและบวมจากการถูกกระแทกบาดแผล หรือการผ่าตัด โดยผลิตเป็นยาเม็ดชื่อ Ananase Forte Tablet

ฟักทอง



ฟักทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucurbita moschata Decne.
วงศ์ : Cucurbitaceae
ชื่อสามัญ : Pumpkin
ชื่ออื่น : หมากอึ (ภาคอีสาน) มะฟักแก้ว ฟักแก้ว (ภาคเหนือ) มะน้ำแก้ว หมักอื้อ (เลย) หมากฟักเหลือง (แม่ฮ่องสอน) น้ำเต้า ภาคใต้
ลักษณะ : เป็นพืชล้มลุก มีเถายาวเลื้อยปกคลุมดิน ลำต้นมีลักษณะกลมหรือเป็นเหลี่ยมมน ผิวเป็นร่องตามความยาว มีขนอ่อน ๆ มีหนวดสำหรับยึด เกาะยึดบริเวณข้อ ใบเป็นใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับกัน โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบหยักเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม มีขนทั้ง 2 ด้านของตัวใบดอกเป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองมีขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายระฆังหรือกระดิ่งออกบริเวณง่ามใบผลมีขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นพูเล็ก ๆ โดยรอบเปลือกนอกขรุขระและแข็ง มีสีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนและ สีเหลืองเข้ม และสีเหลืองตามลำดับ เนื้อภายในมีสีเหลืองอมเขียว สีเหลือง และสีส้ม เมล็ดมีจำนวนมากซึ่งอยู่ตรงกลางผลระหว่างเนื้อฟู ๆ มีรูปร่างคล้ายไข่ แบน มีขอบนูนอยู่โดยรอบ
ประโยชน์ทางสมุนไพร : เนื้อฟักทองประกอบด้วยแป้ง โปรตีน ไขมัน ฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก และ สารเบต้า - แคโรทีน ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายนำไปสร้างวิตามิน เอ เมล็ดมีฟอสฟอรัสในปริมาณสูง รวมทั้งแป้ง โปรตีน และน้ำประมาณร้อยละ 40 ส่วนเมล็ดแห้งมีสารคิวเคอร์บิทีน (Cucurbitine) เป็นสารสำคัญ ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิได้ผลดี นอกจากนั้น ฟักทองสามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ซึ่งช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงนัยน์ตา ตับและไต เมล็ดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด ป้องกันการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และช่วยดับพิษปอดบวม รากช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ยางช่วยแก้พิษผื่นคัน เริม และงูสวัด

ยอ



ยอ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda citrifolia L.
วงศ์ : Rubiaceae
ชื่อสามัญ : Indian Mulberry
ชื่ออื่น : มะตาเสือ ยอบ้าน
ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 2-6 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างโคนก้านใบ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ฐานดอกอัดกันแน่นเป็นรูปทรงกลม กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลสด เชื่อมติดกันเป็นผลรวม ผิวเป็นตุ่มพอง
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลสดดิบหรือห่าม ฝานเป็นชิ้นบาง ย่างหรือคั่วไฟอ่อน ๆ ให้เหลือง ต้มหรือชงกับน้ำ ดื่มแก้คลื่นไส้อาเจียน สารที่ออกฤทธิ์คือ asperuloside

มะแว้งต้น



มะแว้งต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum indicum L.
วงศ์ : Solanaceae
ชื่ออื่น :
ลักษณะ : ไม้พุ่ม สูง 1-1.5 เมตร ลำต้นมีขนนุ่ม ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 6-12 ซม. ขอบใบเว้า ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกช่อ ออกตามกิ่งหรือที่ซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลสด รูปกลม ผลดิบสีเขียวอ่อน ไม่มีลาย เมื่อสุกสีส้ม
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลสดแก้ไอขับเสมหะ รักษาเบาหวาน ขับปัสสาวะ มีการทดลองในสัตว์ พบว่าน้ำสกัดผลมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด แต่มีฤทธิ์น้อยและระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้น พบสเตดรอยด์ปริมาณค่อนข้างสูง จึงไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน มะแว้งต้นเป็นส่วนผสมหลัก ในยาประสะมะแว้ง ซึ่งองค์การเภสัชกรรมผลิตขึ้นตามตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ

มะแว้งเครือ



มะแว้งเครือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum trilobatum L.
วงศ์ : Solanaceae
ชื่ออื่น : แขว้งเคีย
ลักษณะ : ไม้เลื้อย มีหนามตามกิ่งก้าน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กว้าง 4-5 ซม. ยาว 5-8 ซม. ขอบใบเว้า มีหนามตามเส้นใบ ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีม่วง ผลเป็นผลสด รูปกลม ผลดิบสีเขียวมีลายตามยาว เมื่อสุกสีแดง
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลสดแก้ไอขับเสมหะ โดยใช้ขนาด 4-10 ผล โขลกพอแหลกคั้นเอาน้ำใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ หรือเคี้ยวกลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมเฝื่อน มะแว้งเครือเป็นส่วนผสมหลักในยาประสะมะแว้งเช่นกัน นอกจากนี้ใช้ขับปัสสาวะแก้ไข้และเป็นยาขมเจริญอาหารด้วย

มะนาว



มะนาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantifolia Swing.
วงศ์ : Rutaceae
ชื่อสามัญ : Common Lime
ชื่ออื่น : ส้มมะนาว มะลิว (ภาคเหนือ)
ลักษณะ : ไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำมะนาวและผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะเช่นดีปลี

ปลาไหลเผือก



ปลาไหลเผือก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eurycoma longifolia Jack
วงศ์ : Simaroubaceae
ชื่ออื่น : กรุงบาดาล คะนาง ชะนาง ตรึงบาดาล ตุงสอ แฮพันชั้น เพียก หยิกบ่อถอง หยิกไม่ถึง เอียนดอน ไหลเผือก
ลีกษณะ : ไม้ยืนค้น สูง 4-6 เมตร ลำต้นตรง ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่แกมวงรี กว้าง 2-3 ซม. ยาว 5-7 ซม. สีเขียวเข้ม ยอดและใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีม่วงแดง ผลเป็นผลสด รูปยาวรี
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้รากเป็นยาแก้ไข้ทุกชนิดรวมทั้งไข้จับสั่น พบว่าสารที่ออกฤทธิ์เป็นสารที่มีรสขมได้แก่ eurycomalactone eurycomanol และ eurycomanone สารทั้งสามมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาเลเรียชนิดฟัลซิพารัมในหลอดทดลองได้ จัดเป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพ ควรศึกษาวิจัยต่อไป

บอระเพ็ด



บอระเพ็ด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tinospora crispa ( L.) Miers ex Hook.f. & Thoms
วงศ์ : Menisspermaceae
ชื่ออื่น : เครือเขาฮอ จุ่งจิง เจตมูลหนาม เจตมูลยาน เถาหัวด้วน หางหนู
ลีกษณะ : ไม้เถาเลื้อยพัน มีลักษณะคล้ายชิงช้ามาก ต่างกันที่เถามีขนาดใหญ่กว่า มีปุ่มปมมากกว่า มีรสขมกว่าและไม่มีปุ่มใกล้ฐานใบ
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เถาเป็นยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน โดยนำเถาสดขนาดยาว 2 คืบครึ่ง (30-40 กรัม) ต้มคั้นเอาน้ำดื่ม หรือต้มเคี่ยวกับน้ำ 3 ส่วนจนเหลือ 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหารวันละ 2 ครั้งเช้าเย็น หรือเมื่อมีไข้ นอกจากนี้ใช้เป็นยาขมเจริญอาหารด้วย ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรมผลิตทิงเจอร์บอระเพ็ด เพื่อใช้แทน Tincture Gentian ซึ่งเป็นส่วนผสมของยาธาตุที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ การทดลองในสัตว์พบว่าน้ำสกัดเถาสามารถลดไข้ได้

มังคุด



มังคุด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia mangostana L.
วงศ์ : Guttiferae
ชื่อสามัญ : Mangosteen
ชื่ออื่น :
ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 10-12 เมตร ทุกส่วนมียางสีเหลือง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6-11 ซม. ยาว 15-25 ซม. เนื้อใบหนาและค่อนข้างเหนียวคล้ายหนัง หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง สมบูรณ์เพศหรือแยกเพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกสีแดง ฉ่ำน้ำ ผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เปลือกผลแห้งซึ่งมีสารแทนนินเป็นยาฝาดสมาน แก้โรคท้องร่วง ท้องเสียเรื้อรังและโรคเกี่ยวกับลำไส้ พบสาร xanthone ในเปลือกผลมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำให้เกิดหนอง โดยสามารถฆ่าได้ทั้งสายพันธุ์ปกติและสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาเพนนิซิลิน มีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังหลายชนิดและลดอาการอักเสบด้วย จึงมีการพัฒนายาในรูปครีมผสมสารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากเปลือกผล เพื่อใช้รักษาแผลที่เป็นหนองและสิวซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ ตลอดจนใช้ช่วยลดร่องรอยด่างดำบนใบหน้าด้วย

ฟ้าทะลายโจร



ฟ้าทะลายโจร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Andrographis paniculata (Burm.) Wall. ex Nees
วงศ์ : Acanthaceae
ชื่ออื่น : คีปังฮี (จีน) ฟ้าทะลายโจร หญ้ากันงู น้ำลายพังพอน
ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง30-60 ซม.ทั้งต้นมีรสขม ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งออกเป็นพุ่มเล็ก ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว4-8 ซม. สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กกลีบดอกสีขาว โคนกลีบดอกติดกัน ปลายแยกออกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีแดงเข้มพาดตามยาว ปากล่างมี 2 กลีบ ผลเป็นฝักสีเขียวอมน้ำตาล ปลายแหลม เมื่อผลแก่จะแตกเป็นสองซีก ดีดเมล็ดออกมา
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ชาวจีนใช้ฟ้าทะลายเป็นยามาแต่โบราณ และมาเป็นที่นิยมใช้ในปะเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ โดยใช้เฉพาะใบหรือทั้งต้นบนดินซึ่งเก็บก่อนที่จะมีดอกเป็นยาแก้เจ็บคอ แก้ท้องเสีย แก้ไข้ เป็นยาขมเจริญอาหาร การศึกษาฤทธิ์ลดไข้ในสัตว์ทดลองพบว่าสารสกัดแอลกอฮอล์มีแนวโน้มลดไข้ได้ รายงานการใช้รักษาโรคอุจจาระร่วงและบิดไม่มีตัว แสดงว่าฟ้าทะลายมีประสิทธิภาพในการรักษาเท่ากับเตตราซัยคลินแต่ในการรักษาอาการเจ็บคอนั้นมีรายงานทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลขนาดที่ใช้คือพืชสด 1-3 กำมือ ต้มน้ำดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือใช้พืชแห้งบดเป็นผงละเอียดปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม. กินครั้งละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน สำหรับผงฟ้าทะลายที่บรรจุแคปซูล ๆ ละ 500 มิลลิกรัม ให้กินครั้งละ 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าและเย็น อาการข้างเคียงที่อาจพบคือ คลื่นไส้

ฝรั่ง



ฝรั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psidium guajava L.
วงศ์ : Myrtaceae
ชื่อสามัญ : Guava
ชื่ออื่น : จุ่มโป ชมพู่ มะก้วย มะก้วยกา มะมั่น มะกา มะจีน ย่าหมู สีดา
ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 3-10 เมตร เปลือกต้นเรียบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-14 ซม. ดอกเดี่ยวหรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลเป็นผลสด
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบแก้ท้องร่วง บิดมูกเลือด ระงับกลิ่นปาก รากขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ การทดลองกับผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง โดยให้กินผงใบแห้ง 500 มก. ทุก 3 ชม. เป็นเวลา 3 วัน พบว่าได้ผลดีกว่ากว่ายา)ฏิชีวนะเตตราซัยคลิน

ทับทิม




ทับทิม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Punica granatum L.
วงศ์ : Punicaceae
ชื่อสามัญ : Pomegranate
ชื่ออื่น : พิลา พิลาขาว มะก่องแก้ว มะเก๊าะ
ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 3-10 เมตร เปลือกต้นเรียบ ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-8 ซม. ยาว 6-14 ซม. ดอก เดี่ยวหรือช่อ 2-3 ดอก ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ร่วงง่าย เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผล เป็นผลสด
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบแก้ท้องร่วง บิดมูกเลือด ระงับกลิ่นปาก รากขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ การทดลองกับผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง โดยให้กินผงใบแห้ง 500 มก. ทุก 3 ชม. เป็นเวลา 3 วัน พบว่าได้ผลดีกว่ายาปฏิชีวนะเตตราซัยคลิน

กล้วยน้ำว้า



กล้วยน้ำว้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa sapientum L.
วงศ์ : Musaceae
ชื่อสามัญ ; Banana
ชื่ออื่น :
ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 2-4.5 เมตร มีลำต้นใต้ดิน ลำต้นเหนือดินเกิดจากกาบใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เดี่ยว เรียงสลับซ้อนกันรอบต้นที่ปลายยอด รูปขอบขนาน กว้าง 25-40 ซม. ยาว 1-2 เมตร ผิวใบเรียบมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า มีนวล ดอก ช่อเรียกว่า หัวปลีออกที่ปลายยอด ใบประดับหุ้มช่อดอกสีแดงหรือม่วง กลีบดอกสีขาว บาง ผล เป็นผลสด
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลดิบซึ่งมีสารแทนนินมาก รักษาอาการท้องเสียและบิด โดยกินครั้งละครึ่งหรือหนึ่งผล มีรายงานว่า มีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนูขาวที่ถูกกระตุ้นด้วยยาแอสไพริน เชื่อว่าฤทธิ์ดังกล่าวเกิดจากการถูกกระตุ้นผนังกระเพาะอาหารให้หลั่งสารเมือกออกมามากขึ้น จึงนำมาทดลองรักษาโรคกระเพาะอาหารของคน โดยใช้กล้วยดิบ หั่นเป็นแว่น ตากแห้งบดเป็นผง กินวันละ 4 ครั้งๆ ละ 1-2 ช้อนแกง ก่อนอาหารและก่อนนอน อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ซึ่งป้องกันได้โดยกินร่วมกับยาขับลม เช่น ขิง

มะขามแขก



มะขามแขก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia angustifolia Vahl
วงศ์ : Leguminosae
ชื่อสามัญ : Senna
ชื่ออื่น :
ลักษณะ : มะขามแขก เป็นไม้พุ่ม ขนาดเล็ก ใบเป็นใบประกอบคล้ายมะขามไทย แต่รูปร่างยาวเรียว และปลายใบ แหลมกว่า ดอกเป็นช่อสีเหลือง ฝักคล้ายถั่วลันเตา แต่ป้อมและแบนกว่าฝักอ่อนมีสีเขียวใส และเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ใบและฝักใช้เป็นยาถ่าย แต่ใบจะทำให้มีอาการไซ้ท้องมากกว่า

มะขาม



มะขาม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarindus indica L.
วงศ์ : Leguminosae
ชื่อสามัญ : Tamarind
ชื่ออื่น : Tamarind
ลักษณะ : มะขามเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายไบและโคนใบมน ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง หนึ่งช่อมี 10-15 ดอก ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และหวาน
ประโยชน์ทางสมุนไพร : สรรพคุณทางยา

ยาระบาย แก้อาการท้องผูก ใช้มะขามเปียกรสเปรี้ยว 10–20 ฝัก (หนัก 70–150 กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ หรือต้มน้ำใส่เกลือเล็กน้อยดื่มเป็นน้ำมะขาม

ขับพยาธิไส้เดือน นำเอาเมล็ดแก่มาคั่ว แล้วกะเทาะเปลือกออก เอาเนื้อในเมล็ดไปแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20-30 เม็ด

ขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทานพอสมควร

คุณค่าทางโภชนาการ ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัด เรียกว่า "มะขามเปียก" ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย

คูน


คูน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia fistula L.
วงศ์ : Leguminosae
ชื่อสามัญ : Golden Shower Tree/ Purging Cassia
ชื่ออื่น : ราชพฤกษ์ ลมแล้ง
ลักษณะ : ไม้ยืนต้น สูง 5-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-12 ซม. ดอกช่อออกที่ปลายกิ่ง ห้อยเป็นโคมระย้า กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝักกลม สีน้ำตาลเข้มหรือดำ เปลือกแข็ง ผิวเรียบ ภายในมีผนังกั้นเป็นห้อง แต่ละห้องมีเมล็ด 1 เมล็ด หุ้มด้วยเนื้อสีดำเหนียว
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เนื้อหุ้มเมล็ดแก้ท้องผูก ขับเสมหะ ดอกแก้ไข้ เป็นยาระบาย แก่นขับพยาธิไส้เดือน พบว่าเนื้อหุ้มเมล็ดมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน จึงมีสรรพคุณเป็นยาระบาย โดยนำเนื้อหุ้มเมล็ดซึ่งมีสีดำเหนียว ขนาดก้อนเท่าหัวแม่มือ (ประมาณ 4 กรัม) ต้มกับน้ำ ใส่เกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนน้ำ ดื่มก่อนนอน มีข้อควรระวังเช่นเดียวกับชุมเห็ดเทศ

แห้วหมู



แห้วหมู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyperus rotundus L.
วงศ์ : Cyperacear
ชื่อสามัญ : Nutgrass
ชื่ออื่น : หญ้าขนหมู
ลักษณะ : ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 20-40 ซม. มีลำต้นใต้ดินเป็นหัวคล้ายหัวแห้วไทย แตกแขนงลำต้นเป็นเส้นแข็งเหนียวอยู่ใต้ดินและงอกเป็นหัวใหม่ได้ ใบเดี่ยว จำนวนมาก แทงออกจากหัวกว้าง 2-6 มม. ยาว 5-20 ซม. ดอกช่อ คล้ายดอกหญ้า สีน้ำตาลแดง แตกแขนงเป็น 4-10 กิ่ง ก้านช่อดอกเป็นสามเหลี่ยมตรง ผลเป็นผลแห้ง
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้หัวใต้ดินเป็นยาบำรุงหัวใจ ขับเหงื่อและขับปัสสาวะ การทดลองในสัตว์พบฤทธิ์ขับปัสสาวะ ลดไข้ ลดความดันโลหิตและลดการอักเสบ ซึ่งเชื่อว่าเกิดจาก a-cyperone นอกจากนี้พบฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรียชนิดฟัลซิพารัมในหลอดทดลองด้วย

ข่า



ข่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia nigra (Gaertn.) Burtt
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่อสามัญ :
ชื่ออื่น : ข่าหยวก ข่าหลวง
ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าอ่อนต้มเอาน้ำดื่ม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับลม เหง้าสดตำผสมกับเหล้าโรง ใช้ทารักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากจากเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน สารที่ออกฤทธิ์คือน้ำมันหอมระเหย และ 1’-acetoxychavicol acetate ข่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ และไม่เป็นพิษในขนาดยา 250 เท่าของขนาดที่ใช้ในตำรายาไทย จัดเป็นสมุนไพรที่ปลอดภัย

กระเพรา




กระเพรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum L.
วงศ์ : Labiatae
ชื่ออื่น : กอมก้อ กอมก้อดง กะเพราขาว กะเพราแดง
ลักษณะ : กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาวและกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้านซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่าใบกะเพราขาวสีเขียวอ่อน ส่วนใบกะเพราแดงสีเขียวแกมม่วงแดง ดอกย่อยสีชมพูแกมม่วง ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาว
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ใบหรือทั้งต้นเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน นิยมใช้กะเพราแดงมากกว่ากะเพราขาว โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลมเกิดจากน้ำมันหอมระเหย การทดลองในสัตว์ แสดงว่าน้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดแอลกอฮอล์สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร สาร eugenol ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด

กระเทียม



กระเทียม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum L.
วงศ์ : Alliaceae
ชื่อสามัญ : Common Garlic , Allium ,Garlic ,
ชื่ออื่น : กระเทียม (ภาคกลาง) หอมเทียม (ภาคเหนือ) หอมขาว (ภาคอีสาน) เทียม, หอมเทียม (ภาคใต้)
ลักษณะ : ไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำมะนาวและผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะเช่นดีปลี

กระทือ



กระทือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbet (L.) Smith.
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออื่น : กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ แฮวดำ เฮียวดำ (ภาคเหนือ) เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะ : เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5 - 1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกของเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม แทงหน่อใหม่เมื่อถึงฤดูฝน ใบเดี่ยวเรียงสลับ และเป็นรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 5 - 10 ซม. ยาว 15 - 30 ซม. ด้านล่างของใบมักมีขนนุ่ม ดอกช่อแทงจากเหง้า กลีบดอกสีขาวนวล ใบประดับขนาดใหญ่สีแดง ผลเป็นผลแห้ง
ประโยชน์ทางสมุนไพร : มีฤทธิ์ขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้น การหลั่งน้ำลาย และเพิ่มความอยากอาหาร โดยใช้หัวหรือเหง้าสด ขนาดประมาณหัวแม่มือ 2 หัว ย่างไฟพอสุกตำกับ น้ำปูนใสแล้วคั้นเอาน้ำดื่ม

ดอกอัญชัน


Clitoria Ternatea Linn.
Butterfly Pea, Blue Pea
วงศ์ Papilionaceae

ชื่อท้องถิ่น เอื้องชัน (ภาคเหนือ) แดงชัน (เชียงใหม่)


ลักษณะ เป็นพืชล้มลุก มีลักษณะเป็นเถาเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ต่าง ๆ
ใบเป็นใบประกอบออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 5-7ใบ ลักษณะกลมโตคล้ายพุทรา
เนื้อใบด้านบนเรียบ ปลายใบมน มีกระดูกใบเห็นได้ชัดเจนดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามข้อ
หรือซอกใบ ลักษณะคล้ายดอกถั่ว ซึ่งมีชนิดดอกชั้นเดียว และดอก 2 ชั้น มีหลายสี ทั้งสีม่วง
สีน้ำเงิน และสีขาว ฝักมีขนาดเล็กค่อนข้างแบน มีเมล็ดอยู่ภายใน

แหล่งที่พบ
พบได้ตามทั่วไปตามที่รกร้าง และนิยมปลูกตามบ้านเรือนเพื่อเป็นไม้ประดับ

สารที่พบ
ในดอกมีสารแอนโทไวยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารที่ให้สีแดงและสีน้ำเงิน
มีคุณสมบัติเป็นอิดิเคเตอร์ (Indicator) เช่นเดียวกับ ลิสมัส (Litmus)

สรรพคุณ
รากมีรสเย็นจืดใช้เป็นยาขับปัสสาวะพิการเป็นยาระบาย ช่วยบำรุงดวงตา แก้ตาอักเสบ ตาฟาง
ตาแฉะ โดยนิยมใช้รากต้นอัญชัน ชนิดดอกสีขาว นอกจากนี้ถ้านำรากมาถูฟันจะทำให้ฟันคงทน
แข็งแรงและแก้อาการปวดฟันได้ดี เมล็ดใช้เป็นยาระบาย ซึ่งใช้ชนิดดอกสีนำเงินและดอกสีขาว
ส่วนดอกสดนำมาทาศีรษะเพื่อใช้เป็นยาปลูกผม

ว่านหางจรเข้


Aloe
Aloe baebadensis Mill, Aloe vera Linn.
var chinensis (Haw.) Berg
ALOACEAE

ชื่ออื่น ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ), หางตะเข้ (ภาคกลาง)

รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ข้อและปล้องสั้น ใบเดี่ยว
เรียงรอบต้น กว้าง 5-12 ซม. ยาว 0.3-0.8 เมตร อวบน้ำมาก
สีเขียวอ่อนหรือสีเขียวเข้ม ภายในมีวุ้นใส ใต้ผิวสีเขียวมีน้ำยาง
สีเหลือง ใบอ่อนมีประสีขาว ดอกช่อ ออกจากกลางต้น ดอกย่อย
เป็นหลอดห้อยลง สีส้ม บานจากล่างขึ้นบน ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
วุ้นสด - ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง วิธีใช้ให้เลือกใช้ใบล่างสุด
ของต้นก่อน ล้างน้ำให้สะอาด ปอกเปลือกสีเขียวออกด้วยมีดสะอาด
ล้างน้ำยางสีเหลืองออกให้หมด เพราะอาจระคายเคืองผิวหนัง
และทำให้มีอาการแพ้ได้ ฝานเป็นแผ่นบางปิดแผล หรือขูดเอา
วุ้นใสปิดพอกรักษาแผลสด แผลเรื้อรัง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
แผลไหม้เกรียมจากแสงแดด และรังสี ทาผิวรักษาสิวฝ้า และ
ขจัดรอยแผลเป็น อาจใช้ผ้าพันแผลที่สะอาดพันทับ เปลี่ยนวุ้น
ใหม่วันละครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าแผลจะหาย ใช้วุ้นสดกินรักษา
แผลในกระเพาะอาหารได้ดี และใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง
หลายประเภท เช่น แชมพูสระผม สบู่ ครีมกันแดด เป็นต้น
สารที่ออกฤทธิ์เป็นกลัยโคโปรตีน ชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์
ลดการอักเสบ และเพิ่มการเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อบริเวณ
ที่เป็นแผล แต่มีข้อเสีย คือ สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน
ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง น้ำยางสีเหลืองจากใบ - เคี่ยวให้
แห้ง เรียกว่า "ยาดำ" เป็นยาระบายชนิดเพิ่มการบีบตัวของลำไส้ใหญ่

มะกรูด


Leech Lime, Kaffir Lime
Citrus hystrix D.C.
วงศ์ Rutaceae

ชื่อท้องถิ่น มะขูด มะขุน ส้มกรูด ส้มมั่วผี

ลักษณะ มะกรูดเป็นพืชที่ใช้เป็นเครื่องเทศมานานแล้ว โดยใช้ผิวของผล
เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงหลายชนิด ใช้เข้าเครื่องหอมโดยเป็นส่วนผสม
ในเทียนอบ ใบมะกรูดมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่นในอาหารคาวหลายชนิด
เช่น ต้มยำ แกงเผ็ด น้ำมะกรูดใช้ปรุงอาหารเพื่อให้มีรสเปรี้ยวและดับกลิ่น
คาวปลาคนโบราณนิยมสระผมด้วยน้ำมะกรูด เพราะช่วยให้ผมดำเป็นมัน
ไม่แห้งกรอบ คนไทยนิยมปลูกมะกรูดไว้ตามบ้านและในสวน มะกรูด
เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ใบมีกลิ่นหอม ผลค่อนข้างกลม ผิวขรุขระมีปุ่มนูน
และมีจุกที่หัวของผล ส่วนที่ใช้ คือ ใบและผล

สารสำคัญ ในใบและผลมะกรูด เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะให้น้ำมันหอม
ระเหยในปริมาณ 0.08 % และ4 % ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยจากผิว
มะกรูดมักประกอบด้วยเบต้า-ไพนีน, ไลโมนีนและซาบินีน เป็นสารหลัก
ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากใบจะประกอบด้วย ซีโทรเนลลาล, ไอโซพูลิโกล
และไลนาลูออล เป็นสารหลัก ส่วนในน้ำมะกรูดมีกรดซิตริก ไวตามินซี
และกรดอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ

มะละกอ


Papaya
Melon Tree, Carica papaya Linn.
CARICACEAE

ชื่ออื่น
ก้วยลา (ยะลา), แตงต้น (สตูล), มะก้วยเทศ (เหนือ),
ลอกอ (ใต้) หมักหุ่ง, มะเต๊ะ (ปัตตานี)

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 3 - 6 เมตร ไม่มีแก่น ต้นอวบน้ำ มียางขาว
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รอบต้นบริเวณยอดรูปฝ่ามือเว้าเป็นแฉก
ลึก 7 แฉก ขนาดใหญ่ ดอก มีหลายประเภท คือดอกตัวผู้
ดอกตัวเมีย และดอกสมบูรณ์เพศเป็นดอกเดี่ยว หรือช่อ
2 - 3 ดอก สีนวล
ผล เป็นผลสด รูปยาวรี ทรงกระบอก หรือกลม เมล็ดสีดำ

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
รากและก้านใบ - ขับปัสสาวะ ยางขาวจากผลดิบมีเอ็นไซม์
ย่อยโปรตีน ได้แก่ papain และ chymopapain ใช้ย่อย
เนื้อสัตว์ให้เปื่อย นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง
ในอุตสาหกรรมยาใช้เอ็นไซม์ผลิตเป็นยาเม็ด ลดอาการบวม
การอักเสบจากบาดแผล หรือการผ่าตัด ตำพอกแผลเรื้อรัง
ฝีหนอง

ตะไคร้หอม


Cymbopogon nardus Rendle

วงศ์ POACEAE (GRAMINEAE)

ชื่อท้องถิ่น
ตะไคร้แดง จะไคมะขูด ตะไครมะขูด คาหอม ไคร จะไคร เซิดเกรย
ตะไคร้ ห่อวอตะโป่ หัวสิงโต เหละเกรย Lapine, Lemongrass,
West Indian lemongrass


ลักษณะพืช
พืชล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้า ลำต้นตั้งตรง สูง 2 เมตร ออกเป็นกอ
ใบเกลี้ยง รูปยาวแคบ กว้าง 5-20 มม. ยาวได้ถึง 1 เมตร มีกลิ่นหอม
ตรงรอยต่อระหว่างใบกับกาบ มีแผ่นรูปไข่ปลายตัดยื่นออก
มา ยาวประมาณ 2 มม. มีขนกาบหุ้มติดทน กาบล่างสุดเกยซ้อนกัน เมื่อแห้งจะม้วนขึ้น ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ยาวได้ถึง 80 ซม.
มีใบประดับ ลักษณะคล้ายกาบ ยาวประมาณ 25 มม. รองรับอยู่ ช่อดอกแยกเป็นหลายแขนง แต่ละแขนงมีช่อย่อย 4-5 ช่อ ผลแห้ง
ไม่แตก ตะไคร้หอมมีลักษณะส่วนใหญ่คล้ายกับตะไคร้กอ ต่างกัน
ที่กลิ่น ต้นและใบยาวกว่าตะไคร้กอมาก แผ่นใบกว้างยาวและนิ่มกว่า
เล็กน้อย

การปลูก ใช้หน่อหรือเหง้าชอบขึ้นในดินร่วนซุย น้ำไม่ขัง ชอบแดดมาก
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบและกาบใบ

สรรพคุณ
ยาไทย ต้นแก้ริดสีดวงในปาก (คือปากแตกระแหง เป็นแผลในปาก) สตรีมีครรภ์รับประทาน ทำให้แท้ง บีบรัดมดลูก ขับลมในลำใส้ แก้แน่น
ตะไคร้หอมได้ถูกนำมาใช้ไล่แมลง อย่างแพร่หลายนานมาแล้ว โดยละลายน้ำมันตะไคร้หอม 7 ส่วน ผสมในแอลกอฮอล์ (70%) 93 ส่วน
ฉีดพ่นหรือตำใบสดหมักในแอลกอฮอล์ใน อัตราส่วน 1:1 ทาตรงขอบ
ประตู ที่ปิดเปิดเสมอ หรือชุบสำลีแขวนเอาไว้หน้าประตูเข้าออก หรือใช้ใบตะไคร้หอม มัดแล้วทุบให้ช้ำวางใว้ตามมุมห้องหรือใต้เตียง

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
ใบและกาบใบมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งมี Geraniol และ Citronellal
เป็นส่วนประกอบสำคัญ มีฤทธิ์ในการไล่แมลง

คนทีสอ


Tree Leaved Chaste Tree, Indian Privet,
Indian Wild Pepper
Vitex trifolia Linn
VERBENACEAE

ชื่ออื่น
คนทีสอขาว, โคนดินสอ, สีสอ (ประจวบ), มูดเพิ่ง (ตาก), ผีเสื้อน้อย,
ดอกสมุทร, สีเสื้อน้อย

รูปลักษณะ
เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูง 3-6 เมตร เปลือกนอกสีเทาดำ
เปลือกในสีเหลืองอ่อน แตกเป็นร่องตื้นๆ ตามยาว เรือนยอดเป็นพุ่ม
กว้าง 2-3 เมตร ในประเทศไทยพบขึ้น ตามป่าเบญจพรรณทั่วไป
ในต่างประเทศพบว่า มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชียถึงออสเตรเลีย
ความน่าสนใจของไม้ต้นนี้คือ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กที่มีดอกดก สีหวาน และตัดแต่งทรงพุ่มได้ง่าย ปลูกได้ทั่วไปใช้พื้นที่ไม่มากนัก ใช้เป็นองค์ประกอบในการจัดสวนได้ดี และใช้ด้านสมุนไพรไทยได้มากมายเกือบทุกส่วน เช่น ต้น ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดท้องอืด เฟ้อ เปลือกแก้ไข้ แก้ระดูพิการ แก้คลื่นเหียน แก้พยาธิ แก้จุกเสียด ดอก รสหอมฝาด แก้ไข้ แก้พยาธิ แก้หืดไอ แก้ไข้ในหญิงมีครรภ์ แก้ไข้อันบังเกิดแต่ทรวง บำรุงครรภ์มารดา บำรุงน้ำนมดี


สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ รสร้อนสุขุมหอม บำรุงน้ำดี ขับลม แก้หือไอ ฆ่าพยาธิ
แก้สาบสางในร่างกาย แก้ริดสีดวงจมูก แก้เสมหะ จุกคอ
แก้ลำไส้พิการ แก้ปวดตามกล้ามเนื้อตามข้อ ขับเหงื่อ
ดอก รสหอมฝาด แก้ไข้ในหญิงมีครรภ์ แก้ไข แก้หืดไอ ฆ่าแม่พยาธิ
ลูก รสร้อนสุขุม แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ไข้ ฆ่าพยาธิ แก้ไอ
แก้ริดสีดวง ท้องมาน
เมล็ด รสร้อนสุขุม ระงับปวด เจริญอาหาร
ราก รสร้อนสุขุม (ร้อนติดเมาอ่อนๆ) แก้ไข้ แก้โรคตับ โรคตา
ถ่ายน้ำเหลือง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ
ต้น ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดท้องอืด เฟ้อ เปลือกแก้ไข้ แก้ระดูพิการ แก้คลื่นเหียน แก้พยาธิ แก้จุกเสียด ดอก รสหอมฝาด แก้ไข้ แก้พยาธิ
แก้หืดไอ แก้ไข้ในหญิงมีครรภ์ แก้ไข้อันบังเกิดแต่ทรวง บำรุงครรภ์
มารดา บำรุงน้ำนมดี

ขี้เหล็ก


Cassod Tree, Thai Copper Pod, Siamese Cassia
Senna Siamea (Lamk.) H.S.Irwin et R.C.Bameby
(Cassia siamea Lamk.)
FABACEAE

ชื่ออื่น
ขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง) ยะหา (ปัตตานี) ผักจี้ลี้ (ฉานแม่ฮ่องสอน) แมะขี้เหละพะโคะ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ขี้เหล็กแก่น

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 4 ซม. ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเขียว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝัก แบบยาวและหนา

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ รสขม ถ่ายพรรดึก ถ่ายกระษัย ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ ขับปัสสาวะ
แก้ระดูขาว แก้นิ่ว ตำพอกแก้เหน็บชา แก้บวม บำรุงโลหิต
ดับพิษโลหิต ดองสุราดื่มก่อนนอน แก้นอนไม่หลับ
ใบอ่อน, ดอกตูมและแก่น - มีสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิด จึงมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ใช้ใบอ่อนครั้งละ 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-1.5 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว นอกจากนี้ยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนหลับ โดยใช้วิธีนำมาดองเหล้า ดื่มก่อนนอน
ดอก รสขม แก้โรคประสาท แก้นอนไม่หลับ แก้หืด แก้รังแค เป็นยาระบาย
ฝัก รสขม แก้ไข้พิษเพื่อปิตตะ ไข้เพื่อเสมหะ
เปลือกฝัก รสขมเฝื่อน แก้เส้นเอ็นตึง แก้กระษัย
เปลือกต้น รสขม แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวาร
กระพี้ รสขมเฝื่อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้เพื่อดี แก้กระษัยเส้นเอ็น
แก่น รสขมเฝื่อน ถ่ายพิษถ่ายเส้น ถ่ายม้าม แก้กระษัย แก้เหน็บชา
แก้ไข้เพื่อกระษัย ขับโลหิต แก้เตโชธาตุพิการ ทำให้ตัวเย็น แก้แสบตา
แก้กามโรค หนองใส
ราก รสขม แก้ไข้ แก้ไข้กลับ ไข้ช้ำ รักษาแผลกามโรค

ขมิ้นชัน




Curcuma longa Linn.
วงศ์ ZINGIBERACEAE

ชื่อท้องถิ่น ขมิ้น (ทั่วไป)
ขมิ้นแกง, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นหัว (เชียงใหม่),หมิ้น (ภาคใต้)

ลักษณะ พืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ใต้ดินเนื้อในของเหง้า ขมิ้นชันสีเหลืองเข้ม
จนสีแสดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบรูปเรียวยาว ปลายแหลมคล้ายใบ
พุทธรักษา ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงจากเหง้าโดยตรง ออกตรงกลาง
ระหว่างใบคู่ในสุด ดอกสีขาว มีแถบสีเหลืองคาด มีกลีบประดับสีขาวหรือเขียว
การปลูก ขมิ้นชันชอบอากาศค่อนข้างร้อน และมีความชุ่มชื้นในเวลากลางคืน
ชอบดินร่วนซุยที่ระบายน้ำได้ดี วิธีปลูกใช้เหง้าแก่ ที่อายุ 11-12 เดือน เป็น
ท่อนพันธุ์ เก็บใช้ในช่วงอายุ 9-10 เดือน ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าสดและแห้ง

สรรพคุณยาไทย
เหง้าของขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการ อักเสบ
และ มีฤทธิ์ในการ ขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นชัน มีสรรพคุณบรรเทา
อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด
วิธีใช้ อาการแพ้อักเสบ แผล ฝีพุพอง แมลงสัตว์กัดต่อยภายนอก ใช้เหง้ายาว
ประมาณ 2 นิ้ว ฝนกับน้ำต้มสุกทาบริเวณที่เป็น วันละ 3 ครั้ง หรือใช้ผงขมิ้น
โรยทาบริเวณที่มีอาการ ผื่นคันจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ อาการ ท้องอืด
ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียดและอาหารไม่ย่อย ใช้เหง้าขมิ้น ไม่ต้องปอกเปลือก
หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัด ๆ สัก 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้ง
ปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง
หลังอาหารและก่อนนอนถ้ามีอาการท้องเสียให้หยุดยาทันที

ข้อมูล
ทางวิทยาศาสตร์ กองวิจัยและพัฒนาสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กระทรวงสาธารณสุข ได้ศึกษาว่า ขมิ้นชันไม่มีพิษที่รุนแรง ทั้งในการใช้ระยะสั้น
และระยะยาว นอกจากนี้ ยังวิเคราะห์พบว่า น้ำมันหอมระเหย เป็นสารสำคัญ
ในการออกฤทธิ์รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ โดยได้ทำการศึกษา ทดลองใน
โรงพยาบาลชุมชน 5 แห่ง และโรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง ในผู้ป่วยที่มีอาการต่าง ๆ
ได้แก่ ปวดแสบท้องเวลาหิว จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากมีลมในกระเพาะอาหาร
จุกเสียดท้อง เนื่องจากมีลมในกระเพาะอาหารและ ลำไส้ ผลจากการศึกษาเป็นที่น่า
พอใจ ผู้ป่วยที่ได้รับขมิ้นชันมีอาการดีขึ้น และไม่พบ ผลแทรกซ้อนในการใช้
จากการศึกษานี้พอสรุปได้ว่า ขมิ้นชันมีประสิทธิภาพดีในการใช้ จึงสมควรที่จะเผยแพร่
และพัฒนาเป็นยาต่อไป

กระดังงา




Kenanga (Ylang Ylang)
Cananga odorata (Lamk.) Hook. f. et. Th.
ANNONACEAE

ชื่ออื่น
กระดังงา กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ สะบันงา สะบันงาต้น

รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้น สูง 8-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา กิ่งมักจะลู่ลง
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม.
ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก
กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ผลแก่
จะเปลี่ยนจากสีเหลืองอมเขียวเป็นสีดำ

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ดอก - มีน้ำมันหอมระเหย ใช้ทอดกับน้ำมันมะพร้าว ทำน้ำมันใส่ผม
ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมวิงเวียน จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งเจ็ด